วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฝึกอบรมเยาวชนโรตารี่ ที่อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

เมื่อวันที่11-14ตุลาคม2555ที่ผ่านมา กลุ่มปั้นฝันอาสาร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา และสโมสรโรตารี่ภาค3360 จัดกิจกรรม "โครงการอบรมเยาวชนผู้นำของโรตารี่ "ไรล่า" ภาค3360 " ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย มีจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติกว่า 250 ชีวิต
read more "ฝึกอบรมเยาวชนโรตารี่ ที่อ.เชียงแสน จ.เชียงราย"

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการ ครูบ้านนอก รุ่นที่ 147 วันที่ 7-10 ธ.ค.55


        ชุมชนบ้านปู่ทา  (ชนเผ่ากะเหรี่ยง) เป็นหนึ่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เลวร้ายที่อุบัติขึ้นภัยพิบัติครั้งนั้นได้พรากชีวิตผู้คนกว่า 8ชีวิตให้กลายเป็นศพ

ภายในเวลาไม่กี่นาที ทำให้ชาวบ้านต้องตัดสินใจครั้งใหญ่ในการละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดที่กำเนิดและเติมโตขึ้นมาในผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรและแหล่งน้ำที่

ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนทั้งหมู่บ้าน  ไปยังที่อยู่ใหม่ที่ได้รับการจัดสรรจากทางภาครัฐเพื่อให้พวกเขาได้รับความปลอดภัยจากน้ำป่า  จากดินโคลนถล่มที่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีกใน

ภายภาคหน้า  ทำให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่อพยพลงมาต้องเปลี่ยนไป และต้องดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดอย่างสมบูรณ์เฉกเช่นเคย

จากเดิมที่เคยมีที่ดินทำกินกว้างขวาง มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์กลับกลายมาเป็นการถูกจำกัดทั้งที่อยู่และที่ทำกิน  การเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อไปค้าแรงงานของคนวัยหนุ่มสาวเริ่มเป็นที่นิยมในหมู่บ้านอย่างแพร่หลาย  เนื่องจากต้องใช้จ่ายในทุกๆ วัน  การทำงานรับจ้างจึงเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การมีเพื่อการประทังชีวิต    ซึ่งกลุ่มคนเหล่า
นี้เป็นผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาและไร้ซึ่งสัญชาติความเป็นคนไทยอาชีพที่สามารถทำได้ก็คงหนีไม่พ้นแรงงานรับจ้างที่ถูกเอารัดเอาเปรียบและกดขี่จากผู้ประกอบการ
ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนต้องไขว้คว้าหาความรู้เพื่อความอยู่รอดในสังคมและมนุษย์ก็ใช้ความรู้เหล่านี้สร้างสรรค์ผลงาน สิ่งประดิษฐ์ความเจริญต่าง ๆ มากมาย
การให้ได้มาซึ่งความรู้นั้นมาจากการศึกษา เล่าเรียนการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะความรู้...คือสมบัติอันล้ำค่าที่สุด
จากการลงพื้นที่ทำกิจกรรมทำให้เราได้พบเห็นปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ มากมายที่ทาง โรงเรียนและชุมชนยังขาดแคลน  และมีความต้องการ อย่างเร่งด่วน ประกอบด้วย

1.1        ความมั่นคงทางอาหาร  เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนทางด้านอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนกว่า 50 ชีวิต  ให้ได้รับ

สารอาหารครบ 5 หมู่  ซึ่งปัจจุบันนี้  อาหารที่ดีที่สุดที่เด็กได้รับประทาน คือไข่  แต่ช่วงหน้าฝนการขนส่งเข้าพื้นที่ยากลำบากมาก  สิ่งที่พอทำได้สำหรับการจัดซื้ออาหาร
ต้องเน้นอาหารจำพวกของแห้ง  เช่นปลาเค็ม เส้นหมี่  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น  ทำให้เด็กไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายในปริมาณที่เพียงพอ
สมวัย   ในส่วนนี้ ทางกองทุนครูบ้านนอกเห็นว่า  เราควรเข้าไปช่วยสนับสนุนในส่วนของ 

1.1 .1       จัดอบรมและให้ความรู้พร้อมทั้งจัดทำโรงเรือนสัตว์   ประกอบด้วย

·       สร้างโรงเรือนไก่พันธุ์พื้นเมือง

·       มอบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่  /   มอบพันธุ์ปลาดุก  ให้ทางโรงเรียน เด็ก ๆ  ครู และชุมชน ช่วยกันดูแลเพื่อต่อยอดขยายพันธุ์ ต่อไป

·       จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่และ การเลี้ยงปลา อย่างถูกวิธี เหมาะสมกับพื้นที่

1.1.2        จัดอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับพืช

·       แจกเมล็ดพันธุ์พืชพร้อมทั้งแนะนำสาธิตและให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก  ดูแลรักษา การเก็บผลผลิต   โดยไม่พึ่งสารเคมี  ประกอบด้วย ฟักทอง  บวบ 

พริก  มะเขือ ฯ

1.1.3        สร้างโรงเพาะเห็ดเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า และจัดอบรมให้ความรู้

·       สร้างโรงเรือนเพาะเห็ด

·       จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์  การดูแลรักษา การเก็บผลผลิต  ให้กับ ครู นักเรียนและคนในชุมชน

·       มอบเชื้อเห็ดให้กับทางโรงเรียน  และชุมชน

1.2        สนามเด็กเล่น และสนามกีฬา  ในส่วนนี้เนื่องจากการย้าย ทำเลที่ตั้งของโรงเรียนจากเหตุการณ์ภัพพิบัติเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา  ปัจจุบันโรงเรียนมีเพียงอาคาร
ไม้หลังเดียว ไม่มีไฟฟ้า  มีแต่ประปาภูเขา   พื้นที่รายรอบริเวรโรงเรียนเป็นพื้นที่แผ้วถางใหม่เพื่อจัดสร้างโรงเรียนทำให้พื้นที่ดังกว่ามีตอไม้อยู่เต็มพื้นที่ และเด็ก ๆ ในโรงเรียนบางคนไม่เคยเลยที่จะเคยเห็นหรือได้เล่นเครื่องเล่นสนาม  ในส่วนนี้ เราจะเข้าไปสนับสนุนช่วยเหลือสนับสนุนในส่วน 

·       ปรับภูมิทัศน์สนามรอบบริเวณโรงเรียน

·       สนามตะกร้อสนามฟุตบอล สนามเปตอง  ( พร้อมอุปกรณ์ )

·       สนามเด็กเล่น  (ม้ากระดาน  ชิงช้า   อย่างละ 2  ชุด  1 ชุด  มี  3  อัน )

1.3        สร้างอาคารโรงอาหารขนาด 8  * 3  เมตร   ทางโรงเรียนยังไม่มี โรงอาหารและอุปกรณ์ทำครัวที่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้ถึง  50 คน มีเพียงอุปกรณ์ทำครัว

ที่ใช้ตามบ้านเรือนเท่านั้นมาใช้ในการประกอบอาหาร  และพื้นที่ในการรับประทานอาหาร

งบประมาณ

1.              ค่าวัสดุอุปกรณ์  / ค่ารถขนส่งวัสดุอุปกรณ์เข้าพื้นที่                          235,500   บาท

2.              จัดซื้ออุปกรณ์/ เครื่องครัว                                                                  30,000     บาท

3.              ค่าเมล็ดพันธุ์  พันธุ์ไก่ พันธุ์ปลา  ฯ ด้านการเกษตร                          20,000     บาท

4.              เบ็ดเตล็ด                                                                                                                14,500     บาท  

รวม         300,000  บาท

สามารถร่วมสมทบทุนสนับสนุนโครงการครั้งนี้ได้ที่   บัญชีเงินฝากออมทรัพย์   ชื่อบัญชี โครงการครูอาสา  หมายเลขบัญชี  539-1-33371-7 ธนาคารกรุงไทย สาขาห้าแยกพ่อขุนเม็งราย  

…………………………………………………………….

กำหนดการ

ครูบ้านนอกรุ่น 147   “ ล่อง สาละวิน คืนถิ่นปู่ทา  ”

ณ  บ้านปู่ทา  ตำบลเเม่สามเเลบ  อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ระหว่างวันที่  7 – 10   ธันวาคม  2555



 วันศุกร์ที่  7  ธันวาคม  2555

08.30น.  รับคณะครูบ้านนอก ที่ขนส่ง  อ. แม่สะเรียง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเดินทางไปศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน  บ้านแม่คะตวน ตำบลแม่สามแลบ
อำเภอสบเมย   จังหวัดแม่ฮ่องสอน  

·                   เปิดหัวใจอาสา  ฉันมาทำอะไรที่นี่  ( ปฐมนิเทศ ) 

12.00น. รับประทานอาหารกลางวัน
   

13.00น. เดินทางเข้าหมู่บ้านปู่ทา  ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30  ชั่วโมงในทางรถยนต์ จากนั้น  " นั่งเรือ "  ที่ตะเข็บชายเเดนไทย - พม่า ลัดเลาะไปตาม "เเม่น้ำสาละวิน "  ที่หมู่บ้านเเม่สามเเลบ ไปทางขึ้นหมู่บ้านปู่ทาประมาณ   1 ชม . เเละ ต่อด้วยเดินเท้า  อีก 2 กม .เพื่อไปที่หมู่บ้านปู่ทา  ( นั่งรถ  - ลงเรือ – เดินเท้า  ครบสูตร ) 

16.30น.  ถึงหมู่บ้าน  คณะครูบ้านนอก เข้าบ้านพักทำความรู้จักกับผู้นำหมู่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ชาวบ้าน และ เด็ก ๆ จากนั้นเราจะให้เด็ก ๆ เลือกพวกเราเหล่าคณะครูบ้านนอก เข้าบ้านพัก หลังละ 2คน  (แยกชาย – เเยกหญิง) 

19.00น.  ครูบ้านนอกรวมตัวกันที่ลานหมู่บ้านเพื่อทำกิจกรรมสันทนาการ รอบกองไฟ กับเด็ก ๆ และร่วมเรียนรู้วิถีชุมชน ผู้คุยประวัติความเป็นมา จากผู้นำชุมชน 

        20.30 น. สรุปกิจกรรมของวันนี้  และเตรียมงานสำหรับวันพรุ่งนี้   เเยกย้ายพักผ่อน



วันเสาร์ที่   8 ธันวาคม   2555

คณะครูบ้านนอกตื่นเช้า มาสัมผัสอากาศหนาวบนดอย แห่งเมือง 3 หมอก ที่อบอวลท่ามกลางขุนเขาในหมู่บ้านทำธุระส่วนตัว และ รับประทานอาหารเช้าร่วมกับ
เจ้าบ้าน (บ้านที่เราพัก)
   

                8.00 น. คณะครูบ้านนอกเจอกันที่โรงเรียนศูนย์ ศศช. แม่ฟ้าหลวง บ้านปู่ทา   เคารพธงชาติ กิจกรรมทำความรู้จักกันระหว่างคณะครูบ้านนอก กับเด็กนักเรียน
จากนั้นเราจะแบ่งทีมกิจกรรม

1.              ทีมสอน...               กระบวนการเรียนการสอนเราจะเน้นกลุ่มเด็กเป็นหลัก  ครูบ้านนอก สามารถสอนได้ทุกวิชา ( (สันทนาการ /เกม / เพลง / ศิลปะ เป็นต้น )  การสอนจะแบ่งเป็น5 ช่วงชั้น คือ  อนุบาล  / ป.1 / ป. 2 / ป. 3 / ป. 4   ซึ่งเราจะแบ่งกลุ่มคณะครูบ้านนอกที่เข้ามาร่วมกิจกรรม เข้าไปทำกิจกรรม
การเรียนการสอนในแต่ละช่วงชั้น(คณะครูบ้านนอก สามารถเลือกช่วงชั้นที่จะสอนกันได้)

2.              ทีมสร้าง...               ในส่วนของทีมนี้จะออกแรงเป็นหลัก ในการร่วมสร้างโรงอาหารพร้อมห้องครัว   โรงเพาะเห็ด  สนามเด็กเล่น  เป็นต้น 
(ในส่วนงานนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการระดมทุนเป็นสำคัญ)

3.              ทีมเสริมกำลัง...      ทำอาหารกลางวันสำหรับ เด็ก  คณะครูบ้านนอก  ทีมงาน

                12.00  น.  รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

13.00  น. ช่วงบ่าย เริ่มกิจกรรมต่อจากช่วงเช้า ในส่วนของกิจกรรมการเรียนการสอน และ อีกทีมจะสอนชาวบ้านในส่วนของ การบำรุงดูแลผัก  และพันธุ์ไก่
พันธุ์ปลาที่เรานำเข้าไปให้โรงเรียนได้ช่วยกันต่อยอดและดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

15.30   น. เสร็จกิจกรรม  การเรียนการสอน  นักเรียนกลับบ้าน  ( ส่วนงานสร้างถ้ายังไม่เสร็จ  เราทุกคนจะลงแรงช่วยในส่วนของทีมสร้าง )   คณะครูบ้านนอก แยกย้ายพักผ่อนตามอัธยาศัย  เรียนรู้วิถีชุมชน การดำรงชีวิต ของชาวบ้านที่กินอยู่แบบเรียบง่าย ซึ่งมันแตกต่างกันมากกับสังคมที่เราอยู่ แล้วจะรู้ว่าคนบนดอยมีอะไรให้น่าค้นหาอีกมากมาย  อย่าลืมกลับบ้านทำอาหารเย็นทานร่วมกับชาวบ้านบ้านที่เราพักกันด้วยนะจ๊ะ

19.00น.   ร่วมกันกลางลานหมู่บ้านร่วมกิจกรรมสันทนาการ รอบกองไฟ /  เกม  / เพลง

20.30  น. สรุปกิจกรรม เตรียมงานวันพรุ่งนี้  จากนั้น แยกย้ายพักผ่อน


   
วันอาทิตย์ที่   9  ธันวาคม   2555

อีกวันที่เหล่าเราครูบ้านนอก ต้องฝืนความง่วงเพื่อตื่นเช้า ต่อสู้กับบรรยากาศที่น่าซุกตัวในผ้าห่ม  รับประทานอาหารเช้าร่วมกับเจ้าบ้าน(บ้านที่เราพัก)

                8.00 น. คณะครูบ้านนอกเจอกันที่โรงเรียนศูนย์ ศศช. แม่ฟ้าหลวง บ้านปู่ทา   เคารพธงชาติ กิจกรรมทำความรู้จักกันระหว่างคณะครูบ้านนอก กับเด็กนักเรียน
จากนั้นเราจะแบ่งทีมกิจกรรม

1.              ทีมสอน...               กระบวนการเรียนการสอนเราจะเน้นกลุ่มเด็กเป็นหลัก  ครูบ้านนอก สามารถสอนได้ทุกวิชา ( (สันทนาการ /เกม / เพลง / ศิลปะ เป็นต้น )  การสอนจะแบ่งเป็น5 ช่วงชั้น คือ  อนุบาล  / ป.1 / ป. 2 / ป. 3 / ป. 4   ซึ่งเราจะแบ่งกลุ่มคณะครูบ้านนอกที่เข้ามาร่วมกิจกรรม เข้าไปทำกิจกรรม
การเรียนการสอนในแต่ละช่วงชั้น(คณะครูบ้านนอก สามารถเลือกช่วงชั้นที่จะสอนกันได้)

2.              ทีมสร้าง...               ในส่วนของทีมนี้จะออกแรงเป็นหลัก ในการร่วมสร้างโรงอาหารพร้อมห้องครัว   โรงเพาะเห็ด  สนามเด็กเล่น  เป็นต้น 
(ในส่วนงานนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการระดมทุนเป็นสำคัญ)

3.              ทีมเสริมกำลัง...      ทำอาหารกลางวันสำหรับ เด็ก  คณะครูบ้านนอก  ทีมงาน

                12.00  น.  รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

13.00  น. ช่วงบ่าย  ทีมสอน  และทีมเสริมกำลัง  ช่วยกันในส่วนของกิจกรรม สุขลักษณะ  (ตัดผม เอาเหาออกจากหัว  ตัดเล็บ  เก็บขยะ สอนการแปรงฟัน ฯ)  เราจะทำกิจกรรมนี้กับเด็ก ๆทั้งโรงเรียนทั้งเด็กเล็ก และ เด็กโต

15.30   น. เสร็จกิจกรรม  การเรียนการสอน  นักเรียนกลับบ้าน  ( ส่วนงานสร้างถ้ายังไม่เสร็จ  เราทุกคนจะลงแรงช่วยในส่วนของทีมสร้าง  จนกว่างานจะแล้วเสร็จ
เพื่อให้ทันส่งมอบให้กับโรงเรียนและชุมชนในเช้าวันใหม่ ก่อนการเดินทางกลับ )   คณะครูบ้านนอก แยกย้ายพักผ่อนตามอัธยาศัย  เรียนรู้วิถีชุมชน การดำรงชีวิต ของชาวบ้าน
ที่กินอยู่แบบเรียบง่าย ซึ่งมันแตกต่างกันมากกับสังคมที่เราอยู่ แล้วจะรู้ว่าคนบนดอยมีอะไรให้น่าค้นหาอีกมากมาย  อย่าลืมกลับบ้านทำอาหารเย็นทานร่วมกับชาวบ้าน
บ้านที่เราพักกันด้วยนะจ๊ะ



ในค่ำคืนนี้เราจะมีพิธีผู้ข้อมือจากผู้เฒ่าเฒ่า ผู้แก่ในหมู่บ้าน  เพื่ออวยพรเรียกขวัญให้เราเหล่าครูบ้านนอกเดินทางกลับด้วยความปลอดภัยในเช้าวันรุ่งขึ้น

สรุปงานกิจกรรม  แจ้งกำหนดการวันพรุ่งนี้ แยกย้ายพักผ่อนตามอัธยาศัย



วันจันทร์ที่   10   ธันวาคม   2555

วันนี้เราจะส่งมอบสิ่งปลูกสร้างที่เราได้ทำให้กับโรงเรียนและชุมชน  ผ่านคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการชุมชน  ให้เด็ก ๆได้มีการพัฒนาทางการศึกษาที่ดีขึ้น

08.00น.  เจอกันที่โรงเรียนพร้อมสัมภาระส่วนตัว

1.              ส่งมอบสิ่งปลูกสร้างที่เราได้ทำให้กับโรงเรียนและชุมชน  ผ่านคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการชุมชน  ร่วมกันส่งเสริมให้เด็ก ๆได้มีการพัฒนาทางการศึกษาที่ดีขึ้น

2.              ล่ำลาครู เด็ก ๆ ชาวบ้าน  เดินทางกลับ โดยทางเรือ เราจะ " นั่งเรือ" เลาะมาตามเเม่น้ำสาละวิน  และมาต่อรถยนต์ ที่บ้านแม่สามแลบ เพื่อเดินทาง

ไปศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน    
               12.00น.  รับประทานอาหารกลางวัน

13.00  น. ประชุมสรุปงาน  เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินงานผ่านมา ตลอดระยะเวลาที่ร่วมกิจกรรมและกิจกรรมที่พึงต่อยอดขยายผลในอนาคตภายภาคหน้า  

สิ่งที่พวกเราเห็น  สิ่งที่พวกเราคิด

15.00น. ออกเดินทางเข้าตัวเมืองแม่สะเรียง  ระหว่างทางแวะเที่ยวชมเมืองสบเมย และ เมืองแม่สะเรียง ตามสถานที่ต่าง ๆ   ส่งคณะครูบ้านนอกที่ขนส่งแม่สะเรียง

เพื่อเดินทางกลับ โดยสวัสดิภาพ

 

หมายเหตุ...

1.              รบกวนอาสาสมัครที่มาร่วมงานจองตั๋วเดินทางไปกลับ จาก กรุงเทพ- เเม่สะเรียง / แม่สะเรียง -กรุงเทพ

2.              เที่ยวกลับรบกวนจอง หลังเวลา  15.00 น. เพื่อความสะดวกในการจัดส่งอาสาสมัครและระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรม

3.              กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และสภาพแวดล้อม



ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

                สามารถสมัครผ่านหน้า web ได้ตั้งแต่บัดนี้ – 3 ธันวาคม 2555 (หรือจนกว่าจำนวนอาสาสมัครจะครบตามกำหนด)

สมทบค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม

                คนละ :  2,500 บาท

1.               สำหรับค่าเช่ารถยนต์   (ไม่รวมค่าเดินทาง ไปกลับของอาสาสมัครจากพื้นที่ต่าง ๆ – อ.แม่สะเรียง )

2.               ค่าเช่าเรือ

3.                ค่าเดินทางเข้าพื้นที่

4.               ค่าอาหารตลอดโปรแกรม 

 สมทบค่าใช้จ่ายได้ที่   บัญชี "โครงการครูอาสา " ธนาคารกรุงไทย สาขาห้าแยกพ่อขุนเม็งราย   เลขที่บัญชี 539-1-33371-7 บัญชีออมทรัพย์(  เมื่อโอนแล้ว กรุณาโทรหรือ ส่งเป็นSMS  ยืนยันการโอนที่ เบอร์ 0861816195  หรือถ่ายสำเนา attach file มาที่ nanay_jung@hotmail.com

 พร้อมระบุรายชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรติดต่อกลับ )

  

คุณสมบัติที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพึงมีในเบื้องต้น   (เพื่อความปลอดภัยผู้ที่มีข้อจำกัดเรื่องสุขภาพ  และการกินอยู่ กรุณาแจ้ง )

1.               สามารถใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการดำรงชีพแบบเรียบง่าย กินง่าย อยู่ง่าย

2.               เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มได้ทุกกิจกรรม

3.               อดทน  ลุยทุกสถานการณ์

4.               นั่งรถ  ลงเรือ  ได้ในระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน

5.               มีใจอาสา  และ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี

6.               เปิดใจเรียนรู้   และพร้อมที่จะมองผู้อื่น

 สิ่งที่อาสาสมัครสามารถเตรียมมาสำหรับร่วมกิจกรรม

1.               อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน โปสเตอร์ต่าง ๆ เพื่อมาตกแต่งอาคารเรียนจำนวน 2 หลัง

2.               อุปกรณ์การเรียน สมุด ปากกา ดินสอ สีน้ำ สีเทียน  ดินน้ำมัน ยางลบ สมุดวาดเขียน  อื่น ๆ 

3.               อุปกรณ์กีฬา ฟุตบอล ตระกร้อ ไม้แบตฯ  อื่น ๆ  

4.               ขนมชนิดต่าง ๆ  / ของเล่น / ของรางวัล เพื่อเป็นของรางวัลให้เด็ก ๆ

5.               สบู่ / ยาสระผม / ยาสีฟัน/ แปรงสีฟัน/ แก้วน้ำ / แป้ง /ผ้าขุนหนู  อื่นๆ สำหรับเด็กอนุบาล

6.               ไฟฉาย   เทียนไข  ( เนื่องจากหมู่บ้านนี้ไม่มีไฟฟ้า – มีแต่ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์)

7.               ยากันยุง  ยากันแมลง  ในปริมาณที่เพียงพอสำหรับระยะเวลาที่ทำกิจกรรม

8.               ผ้าถุง  - ผ้าขะม้า  สำหรับอาบน้ำทั้งกลางแจ้งและในห้องน้ำ (แบบโอเพ่นแอร์)

9.               ถุงนอน  / เต็นท์  ( ถ้ามี ) -  ( อากาศค่อนข้างเย็น เพราะอยู่บนยอดดอย )

ข้อแนะนำเตรียมการก่อนสอน และการเข้าพื้นที่

1.               การทำกิจกรรมในครั้งนี้เราเน้นในส่วนของกิจกรรมฟื้นฟูจิตใจ  สร้างขวัญและกำลังใจให้คนในพื้นที่ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก  ครูประจำการในพื้นที่  และ ชาวบ้าน  

2.               การเรียนการสอนในชุมชน  เด็ก ๆ  จะคละกันตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงวัยรุ่น  บาง ครั้งอาจมี พ่อ แม่ของเด็กมาเรียนด้วยครูเตรียมการสอนสำหรับเด็กทุกวัยมาได้เลย และการสอนเราจะมาสอนเป็นกลุ่มกับผู้ที่มาร่วมโครงการท่านอื่น ๆ

3.               การสอนในห้องเรียนแต่ละชั้นเรียน ความรู้เด็กในชั้นจะไม่เท่าเทียมกัน  จะมีทั้งเด็กที่อยู่ในเกณฑ์การเรียนดี   และเกณฑ์การเรียนที่ค่อนข้างต่ำคละกันไปในแต่ละชั้นเรียน    

4.               เด็ก ๆ  ที่เราเข้าสอนจะเป็นเด็กชนเผ่าปกากะญอ  เรียนอยู่ที่ ศศช. บ้านปู่ทา  มีเด็กอนุบาลประมาณ 20 คน และ ระดับชั้น ป. 1  -  ป. 4 จำนวนประมาณ 50 คน ซึ่งเด็ก  ๆ จะพูด และเขียนภาษาไทยไม่ชำนาญเหมือนเด็กในเมือง  อาสาสมัครสามารถเน้นการเรียนการสอนเรื่องนี้ได้

5.               หมู่บ้านที่เราเข้าไปบางบ้านไม่มีไฟฟ้าระบบโซลาเซลล์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ   อาสาสมัครต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมด้วย  เช่นไฟฉาย เทียนไข  เป็นต้น 



การเดินทาง  กรุงเทพฯ - แม่สะเรียง – กรุงเทพฯ

รถทัวร์สมบัติทัวร์  กรุงเทพฯ - แม่สะเรียง  (ขาไป)

VIP 32 ที่นั่ง  เที่ยวเวลา                17.00 น.                                       ราคา  666  บาท

 ป.1                  เที่ยวเวลา               15.00 น.  และ 17.00  น.              ราคา  571  บาท

 ป.2               เที่ยวเวลา  20.45  น.                                      ราคา  444  บาท

รถทัวร์สมบัติทัวร์  แม่สะเรียง - กรุงเทพ  (ขากลับ)

 VIP 32 ที่นั่ง                  เที่ยวเวลา                19.30  น.                                 ราคา  666  บาท

 ป.1                  เที่ยวเวลา               19.00 น.  และ 18.00  น.         ราคา  571  บาท

 ป.2                 เที่ยวเวลา                16.00  น.                                 ราคา  444  บาท

 หรือโทร  Call Center  สมบัติทัวร์   02-7921444     สมบัติทัวร์ขนส่งแม่สะเรียง  โทร.053-681532

เปิดรับอาสาสมัครจำนวนจำกัด 50 คน เท่านั้น ...

เพราะเราเชื่อว่ากำลังกายและกำลังใจของคุณจะช่วยกันฟื้นฟูชุมชนผู้ประสพภัยให้ดีขึ้นได้ในเร็ววัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Mail.  nanay_jung@hotmail.com                 แอน        086-1816195

 Mail  tonsung@bannok.com                       ต้นซุง      090 -754 -8074

หรือโทร   Office : 053-737425      Fax : 053 - 737616



read more "โครงการ ครูบ้านนอก รุ่นที่ 147 วันที่ 7-10 ธ.ค.55"

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการปันกันเพื่อน้องชายแดน บ้านปู่ทา สาละวิน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน


กิจกรรมที่จะดำเนินการตลอดระยะเวลา 3 คืน 4 วัน เน้นกิจกรรมออกแรงแบ่งเหงื่อ เพื่อน้อง ภายใต้วัตถุประสงค์กิจกรรมคือ

1.สร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนทางด้านอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน กว่า 50 ชีวิต ให้ได้รับ
สารอาหารครบ 5 หมู่ ซึ่งปัจจุบันนี้ อาหารที่ดีที่สุดที่เด็กได้รับประทาน คือ ไข่ แต่ช่วงหน้าฝนการขนส่งเข้าพื้นที่ยากลำบากมาก สิ่งที่พอทำได้สำหรับการจัดซื้ออาหาร ต้องเน้นอาหารจำพวกของแห้ง เช่นปลาเค็ม เส้นหมี่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น ทำให้เด็กไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามความต...
้องการของร่างกายในปริมาณที่เพียงพอสมวัย ว่า เราควรเข้าไปช่วยสนับสนุนในส่วนของ

1.1 จัดอบรมและให้ความรู้พร้อมทั้งจัดทำโรงเรือนสัตว์ ประกอบ
1.2 จัดอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับพืช
1.3 สร้างโรงเพาะเห็ด เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า และจัดอบรมให้ความรู้

2.สร้างสนามเด็กเล่น สนามกีฬา

3.สร้างโรงอาหารพร้อมโรงครัว ขนาด 8 * 3 เมตร เพราะขณะนี้ทางโรงเรียนยังไม่มี โรงอาหาร และอุปกรณ์ทำครัวที่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้ถึง 50 คน มีเพียงอุปกรณ์ทำครัวที่ใช้ตามบ้านเรือนเท่านั้นมาใช้ในการประกอบอาหาร และพื้นที่ในการรับประทานอาหาร

หากท่านมีโอกาสทางการการศึกษาที่ดีกว่าพวกเขาเหล่านี้ แล้ว อยากจะแบ่งปันโอกาสที่ดีให้กับเด็ก ๆ กลุ่มนี้บ้าง สามารถร่วมสมทบทุนได้ที่

บัญชี ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี โครงการครูอาสา เลขที่บัญชี 539-1-33371-7 บัญชีออมทรัพย์

เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดสร้าง โรงอาหาร สนามเด็กเล่น โรงเพาะเห็ด ฯลฯ

( ผู้บริจาคท่านใดที่บริจาคสมทบทุนมาแล้ว ขอความกรุณาแจ้ง ชื่อ ที่อยู่ ยอดบริจาค วันเวลาที่บริจาค มาที่ E:Mail nanay_jung@hotmail.com ขอบคุณค่ะ)

หมายเหตุ...กิจกรรมสร้างทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ถ้าทุกคนช่วยกัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

รัชนีวรรณ สุขรัตน์ (แอน)
เจ้าหน้าที่ฝ่ายระดมทุนเพื่อสังคม (โครงการครูบ้านนอก) มูลนิธิกระจกเงา จังหวัดเชียงราย
โทร.053-737425
E-Mail nanay_jung@hotmail.com

ถ้าคุณพร้อมเราจะได้พบกันแน่นอน บนพื้นที่ภูสูง ดอยหนาว พราวเสน่ห์ ณ บ้านปู่ทา ต้นเดือนธันวา 55
read more "โครงการปันกันเพื่อน้องชายแดน บ้านปู่ทา สาละวิน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน"

ดอยเต่า จ.เชียงใหม่








read more "ดอยเต่า จ.เชียงใหม่"

ผามูบ จ.เชียงราย



ผมได้มีโอกาสไปขึ้นค่ายครูบ้าน144 ที่บ้านผามูบ จ.เชียงราย ได้ไปสัมผัสกับชีวิตของครอบครัวหนึ่งที่อยู่กัน แม่ พี่ชาย น้องสาว ผมได้มีโอกาสคุยกะน้องคนนี้ชื่อว่าน้องนาแล ผมก็เลยถามสารทุกข์สุขดิบของน้องไปต่างๆนาๆ น้องก็เล่าให้ฟังว่า พ่อกับแม่ของน้องแยกทางกัน แม่ต้องแบกรับหน้าที่หัวหลักของครอบครัวในการส่งลูกเรียนด้วยการทอสร้อยข้อมือแบบลาหู่ส่งขายให้นายทุนได้อันละ3บาทตกวันนึงได้เงินไม่ถึง100ต้องดูแลครอบครัวและส่งลูกเรียน ทำให้พี่ชายของนาแล ต้องออกจากโรงเรียน จะเพอะพี่ชายของนาแล ต้องออกจากโรงเรียนเพื่อมาทำอาชีพรับจ้างทั่วไปเพื่อแลกกะเงินวันละ100-150บาทเพื่อมาดูแลครอบครัวและส่งน้องนาแลเรียน ด้วยความที่รักน้องสาวมากจะเพอะบอกว่าจะส่งนาแล เรียนสูงๆแม้ต้องทำงานหนักแค่ไหนก็ยอม ถามนะครอบครัวของน้องถือว่าขัดสนและลำบากมาก แต่น้องนาแล เป็นคนขยัน เรียนได้ที่1-2ตลอด มีพรสวรรค์ในด้านการวาดภาพไปวาดงานไหนจะได้ที่1ตลอด ผมก็เลยถามน้องต่อไปว่าน้องเรียนที่ไหน น้องบอกว่าเรียนอีกหมู่บ้านนึงไปอีก3-4กิโลเมตร ผมก็เลยถามว่าไปเรียนยังใงหรอ น้องบอกว่าเดินไป อ้าวแล้วทำไมไม่ซื้อจักรยานแล้วขับไปอย่างเพื่อนคนอื่นเขา(ผมถามเพราะผมเห็นคนอื่นขับไปเรียน)น้องหันหน้ามาหาผมพร้อมแววตาเศร้าๆว่า แม่หนูไม่มีเงินค่ะครู (ผมน้ำตาคลอเลย)ผมก็เลยถามต่อว่าอ้าวยังงี้นาแล ก็ต้องเดินไปเรียนคนเดียวนะสิ เพราะครูเห็นเพื่อนคนอื่นเขามีรถจักรยานกันหมดแล้ว น้องนาแลก็เลยบอกว่า ยังมีเพื่อหนูอีกคนค่ะ ที่บ้านก็มีฐานะลำบากเหมือนกัน ยังคงต้องเดินไปเรียนด้วยกัน2คนตลอดค่ะผมก็เลยให้น้องไปตามน้องอีกคนมา ชื่อว่าน้อง นาคือ จะนะ ผมก็ได้ถามไถ่น้อง นาคือ ซึ่งคำตอบของน้องจะคล้ายกันคือประมาณว่าที่บ้านไม่เงินที่จะซื้อจักรยานให้น้องถีบไปโรงเรียนอย่างเพื่อนคนอื่นเขา น้องนาคือเป็นเด็ที่เรียนดีเช่นเดียวกัน มีความวิริยะอุตสาหะ ต้องตื่นแต่เช้าทำงานบ้านแต่งตัว แล้วต้องออกเดินทางมุ่งสู่โรงเรียนด้วยเท้าทั้ง2ข้างน้องสองคน ผมจึงได้กลับมานั่งครุ่นคิดแล้วจัดทำโครงการเร่งด่วนคือโครงการ แบ่งปันกันยิ้ม เพื่อจัดตั้งกองทุนซื้อจักรยานจำนวน2คันเพื่อมอบให้กับน้องนาแล แซ่ป่า และน้องนาคือ จะนะ ผ่านกลุ่มปั้นฝันอาสา (ครูสายลม 0827808164) สำนักงานกลุ่มปั้นฝันอาสา 55 ม.16 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ฝากบอกครูบ้านนอกทุกท่านเป็นกระบอกเสียงเพื่อสานต่อโครงการนี้ส่งจักรยาน2คันขึ้นดอยเพื่อที่น้อง2คนจะได้มีกำลังใจในการเรียนและเป็นคนดีของสังคมต่อไป สุดท้ายน้อง2คนได้ฝากเขียนเป็นเรียงความพร้อมทั้งขอบคุณครูบ้านนอกพร้อมทั้งผู้ใหญ่ใจดี มา ณ.ที่นี้ด้วยครับ บนภูสูงดอยโพ้น ยังมีคนรอความปราณีจากคนเมือง
ผมเชื่อว่ามือน้อยๆของเราจะตกแต่งโลกใบนี้ให้งดงามได้
ขอคารวะหัวใจอาสาทุกดวง......สายลมพเนจร



read more "ผามูบ จ.เชียงราย"

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาพกิจกรรม



เมื่อวันที่ 6 กันยาที่ผ่านมา ผมเเละกลุ่มปั้นฝันอาสา ได้ออกเดินทางจาก ม.แม่โจ้ เชียงใหม่ มุ่งสู่ บ้านผามูบ ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย เวลาประมาณบ่ายสองโมง ด้วยรถรับจ้างประจำทางที่ทางกลุ่มได้เช่าเหมาวันไว้
19.00 น. เราได้เดินทางถึงที่หมายที่ซุกซ่อนอยู่ในที่ที่ไม่ห่างไกลจากเมืองมากนัก เเต่ทว่าก็เล้นลับซ่อนกายอยู่ท่ามกลางขุนเขา ไม่มีใครค่อยรู้จักพวกเขาหรือบางทีไม่มีใครมองเห็นพวกเขา อากาศเย็นเยียบ ผู้คนจำนวนหลายสิบคนรวมตัวกันอยู่บริเวณลานดินในหมู่บ้าน เมื่อรถเราเข้าไปถึงเเละกำลังจะจอดสนิท เสียงพูดคุยดังระงมขึ้นกลบความเงียบสงัดกลางผืนไพร ซึ่งฟังไม่เข้าใจเพราะเขาใช้ภาษาของพวกเขา เด็กๆกรูเข้ามาใกล้ตัวรถ บ้างก็ทักทายพี่ๆกลุ่มปั้นฝันอาสา เพราะเขาเคยมาทำค่ายที่นี่ครั้งหนึ่งเเล้ว บ้างก็ซุบซิบอยู่กับเพื่อนพร้อมกับชี้นิ้วไปที่จักรยานทั้งสามคันที่นอนเรียงกันอยู่บนหลังคารถ เด็กๆดูตื่นเต้นกับการมาของเรา เเละเป็นการกลับมาอีกครั้งของกลุ่มปั้นฝันอาสา เรามาพร้อมกับความหวัง มาพร้อมกับสิ่งที่จะเติมเต็มให้เด็กหญิงสามคนในหมู่บ้านแห่งนี้..

พิธีมอบเป็นไปอย่างเรียบง่าย ทางกลุ่มปั้นฝันอาสา ได้พูดคุยกับพ่อหลวงหรือผู้นำหมู่บ้านครู่หนึ่ง จากนั้นเราก็เก็บภาพการมอบที่ไม่ได้มีพิธีรีตองอะไรนัก เด็กๆทั้งสามคนดูตื่นเต้นกับจักรยานที่กำลังจะเป็นของพวกเขา ปะปนกับความเขินอายที่ต้องคุยกับพวกเรา ผมเเละกลุ่มปั้นฝันอาสาก็ได้ช่วยกันเเนะนำการใช้ระบบเกียร์ การปรับเบาะ การสูบลม เเละการใช้ไฟของรถจักรยาน สุดท้ายก่อนที่พวกเราจะกลับ ก็ได้ฝากฝังในเรื่องการเรียนอีกทั้งยังเน้นย้ำให้อ่านหนังสือที่ผมมอบไว้ให้ ฝากเรื่องการช่วยเหลือทางบ้านไว้ให้เด็กๆได้คิด เเล้วเราก็ต้องกลับออกมา พร้อมกับถอนหายใจเล็กน้อย เพราะคำส่งท้ายของพวกเขาไม่ใช่คำว่าโชคดี เเต่หากเป็นคำว่า "ไม่อยู่กับพวกเราสักคืนเหรอ ครับ/คะ เเล้วจะกลับมาที่นี่อีกเมื่อไหร่" 

ขอบคุณทุกสิ่งที่ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น !!!
read more "ภาพกิจกรรม"